วา ๒ หมายถึง น. เพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงก่อนตัวแสดงออกแสดงเพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าการแสดงจะเริ่มแล้ว.
ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไปเดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยงไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธานเชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า.(ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่ากิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิดมาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน,พูดกลอนสด ก็ว่า.
ก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำจึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่นผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง.
ก. ดูแลตรวจตราสั่งการงาน.
ก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขานตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลายที่โกรธา ฯ (อิเหนา).
ก. พูดลอย ๆ ไม่เจาะจงคู่กรณีหรือผู้ถูกว่า.
ก. พูดลอย ๆ ไม่เจาะจงคู่กรณีหรือผู้ถูกว่า.